โลกถึงแม้ว่าจะใหญ่แต่ก็เป็นเพียงส่วนหนึ่งของจักรวาลเท่านั้น มนุษย์จึงได้พยายามคิดค้นเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อที่จะออกไปสำรวจจักรวาลเพื่อให้รู้ถึงข้อมูลของดาวอื่น ๆ เผื่อว่าจะสามารถใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง ซึ่งหน่วยงานที่ทำหน้าที่นี้ และเราคุ้นชื่อเป็นอย่างดีนั้นก็คือ ” นาซ่า ”
นาซ่า พยายามที่จะส่งมนุษย์ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยออกไปสำรวจอวกาศมาอย่างยาวนาน และเก็บข้อมูลเพื่อส่งกลับมายังโลก ให้มนุษย์ได้ทำการศึกษา และเรียนรู้เกี่ยวกับจักรวาล เช่นเดียวกับบทความที่เราจะเขียนให้ทุกท่านได้อ่านกันวันนี้ นั่นคือภาพถ่ายของดาวพฤหัสที่มีความละเอียดสูงมาก จากยานอวกาศจูโน่ ที่นาซ่าได้ส่งออกไปปฎิบัติหน้าที่ในอวกาศตั้งแต่ปี 2016
ภาพถ่ายถูกบันทึกได้ในพื้นที่ตอนเหนือของดาวพฤหัส คุณอาจจะคิดว่ามันเหมือนภาพที่ถูกสร้างขึ้นจากศิลปินสักคนหนึ่งแต่ในความจริงมันเป็นภาพถ่ายที่ทำให้เราเห็นว่าสภาพอากาศบนดาวพฤหัสบดีมีความแปรปรวนขนาดไหน วงกลม ๆ ที่ม้วนตัวอยู่นั้นคือ พายุขนาดใหญ่ และสามารถเคลื่อนตัวได้เร็วมาก
ยานจูโน่ได้จับภาพของเมฆที่หมุนวนเป็นจำนวนมากในเขตพื้นที่ทางเหนือของดาวพฤหัสบดี รวมทั้งยังเกิดพายุแอนติไซโคลน(คุณลองสังเกตุวงรีสีขาว นั่นแหล่ะพายุ)
ภาพนี้แสดงให้เห็นการก่อตัวของเมฆที่หมุนรอบตอนใต้ของดาวพฤหัสบดี
ก้อนเมฆสีฟ้าที่โดดเด่น และสวยงามแต่ก็แฝงความน่ากลัวเอาไว้
มุมสวย ๆ ของดาวพฤหัสที่ถ่ายโดยยานอวกาศจูโน่ แต่ในความสวยก็มีความวุ่นวายของสภาพอากาศอยู่ไม่น้อยเพราะดาวพฤหัสบดี เป็นดาวเคราะห์แก๊สขนาดใหญ่
ภาพถ่ายทางตอนเหนือของดาวพฤหัสบดี ถูกถ่ายไว้เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2020
มุมมองที่น่าทึ่งของจุดแดงขนาดใหญ่ของดาวพฤหัสบดี และซีกโลกใต้
เมฆที่หนาทึบ และทำให้การตรวจวัดน้ำด้วยอินฟราเรดของยานจูโน่เป็นไปได้ยาก
ภาพกลุ่มเมฆที่หมุนวน และกระแสน้ำวนที่ปั่นป่วนภายในตอนเหนือของดาวพฤหัสบดี
ส่วนจุดกลมๆ สีขาว และสีฟ้าที่เห็นคือพายุไซโคลนซึ่งอาจมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางได้ถึง 1,000 กิโลเมตร
ภาพความซับซ้อนบนพื้นผิวดาวพฤหัสบดี หรือที่หลายคนรู้จักกันดีในชื่อ “Jet N3”
กระแสลมที่ทำให้เกิดพื้นที่คล้ายน้ำวนซึ่งมีจุดศูนย์กลางมืดมิดบนดาว
เงาของดวงจันทร์ไอโอ บนดาวพฤหัสในระหว่างเกิดเหตุการณ์คล้ายสุริยุปราคาบนโลก
ภาพพายุขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นบนดาวพฤหัสบดี
จุดแดงใหญ่บนดาว ซึ่งล้อมรอบไปด้วยเขตพื้นที่อากาศเชี่ยวกราก
” String of Pearls ” หนึ่งในพายุหมุนขนาดใหญ่จำนวนแปดลูกที่ละติจูด 40 องศาใต้บนดาวพฤหัสบดี
เมฆหมุนวนสีสันสดใสปกคลุมทางตอนใต้ของดาวพฤหัสบดี
รูปแบบเมฆที่สลับซับซ้อนทางตอนเหนือของดาวพฤหัสบดี
ที่ผ่านมาเราอาจเห็นว่าดาวพฤหัสบดีมีสภาพอากาศที่แปรปรวนมาก แต่ถ้ามองจากมุมนี้ก็สวยเหมือนกันนะ
ความรู้เพิ่มเติม***ดาวพฤหัสเป็นดาวเคราะห์ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะของเรา โดยมีองค์ประกอบหลักคล้ายกับดาวฤกษ์ คือ ไฮโดรเจนและฮีเลียมเป็นหลัก ถ้าหากดาวพฤหัสมีมวลมากกว่านี้ประมาณแปดเท่า ดาวพฤหัสจะสามารถกำเนิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันและกลายเป็นดาวฤกษ์ได้
ขอบคุณที่มา nasa | เรียบเรียงโดย เบาสมอง