” มดอาจารย์รวิน ” มดสายพันธุ์ใหม่ของโลกถูกค้นพบที่ประเทศไทย

สวัสดีครับทุกท่านวันนี้ เบาสมอง จะนำผลงานชิ้นใหม่ที่เพิ่งปรากฎณ์สู่สายตาชาวโลก โดยมาจากการค้นพบสิ่งนี้โดยคนไทยนั้นก็ คือ ” มด ” ถูกแล้วครับมดตัวนี้มีชื่อว่า ” มดอาจารย์รวิน ” ถือว่าเป็นมดชนิดใหม่ของโลก จากประเทศไทย โดยมีชื่อสากลว่า ” Myrmecina raviwongsei Jaitrong, Samung, Waengsothorn et Okido, 2019 “

ด้วยความร่วมมือทางวิชาการระหว่าง ” พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ “ กับ ” คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล” และ ” สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย “

ด้วยการร่วมมือกันหลายภาคส่วนทำให้ค้นพบมดชนิดใหม่ของโลก 1 ชนิดจาก สถานีวิจัยสิ่งแวดล้อมสะแกราช จังหวัดนครราชสีมา

ลักษณะของเจ้ามดตัวนี้ก็คือ 

หัว อก และเอวของมดชนิดนี้มีลักษณะเป็นร่องลึกขนานไปกับความยาวลำตัว มีลักษณะแตกต่างจากมดชนิดอื่น ๆ ในสกุลเดียวกันตรงที่ท้องปล้องที่ 1 มีผิวขรุขระไม่เรียบเป็นมันเงา (เป็นมันเงาในมดชนิดอื่น ๆ) และขอบด้านหน้าของท้องปล้องที่ 1 เว้าลึกเห็นได้ชัดเจน

#

แหล่งที่อยู่อาศัยของมดชนิดนี้ 

มดชนิดนี้อาศัยอยู่ในกองใบไม้ที่ทับถมกันบนพื้นป่า หรือในกิ่งไม้แห้งที่ร่วงหล่นอยู่บนพื้นป่าดิบแล้งธรรมชาติที่สมบูรณ์

ดังนั้นมดชนิดนี้จึงสามารถใช้เป็นตัวบ่งชี้ความสมบูรณ์ของป่าได้ทางหนึ่ง และจากบทบาทของมดที่กินสัตว์ขนาดเล็กชนิดอื่น เป็นอาหาร พวกมันจึงมีส่วนช่วยควบคุมกลไกแห่งสายใยอาหารในระบบนิเวศให้อยู่ในสภาวะสมดุล

มดชนิดนี้ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่เป็นมดชนิดใหม่ของโลกในวารสาร Far Eastern Entomologist ฉบับที่ 383 ปี June 2019 (มิถุนายน พ.ศ. 2562) ซึ่งเป็นวาสารระดับนานาชาติของประเทศรัสเซีย

 

โดยที่ชื่อของ ” มด ” ถูกตั้งเพื่อเป็นเกียรติแก่ ผศ.ดร. รวิน ระวิวงศ์ ผู้อำนวนการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ ในฐานะที่ท่านให้การสนับสนุนการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพแก่เจ้าหน้าที่ของพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยาอย่างจริงจัง

ขอบคุณที่มา พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา Natural History Museum

ติดตามเรื่องราวดีๆ ได้ที่ : เบาสมอง

ติดตามเพจ เบาสมอง