หากพูดถึงโปรแกรม Photoshop หลายคนก็รู้ดีอยู่แล้วถึงความสามารถหลักของโปรแกรมนี้ว่ามันสามารถใช้ในการตัดต่อ และตบแต่งภาพได้เป็นอย่างดี ทำให้เราได้เห็นหลาย ๆ สิ่งที่ไม่คาดคิดว่ามันจะเป็นไปได้ในโลกของความจริงอีกทั้งยังช่วยสร้างงานศิลปะที่สวยงาม และช่วยส่งเสริมงานด้านอื่น ๆ ได้ไม่รู้จบอีกด้วย
Roman Uchytel ก็เป็นอีกคนหนึ่งที่มีความสามารถในการใช้โปรแกรม photoshop ได้เป็นอย่างดี เขาได้สร้างชุดภาพของสัตว์ยุคดึกดำบรรพ์ ก่อนที่พวกมันจะสูญพันธ์ไปตามข้อมูลที่เขาศึกษา และเอามาเปรียบเทียบกับสัตว์สายพันธุ์เดียวกัน หรือลักษณะสัตว์ที่ใกล้เคียงกับที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้เห็นความแตกต่างของขนาด และวิวัฒนาการที่เปลี่ยนแปลงไปจากอดีตว่ามาไกลแค่ไหนแล้ว และนี้คือผลงานเพียงบางส่วนเท่านั้นที่เราหยิบเอามาให้ทุกท่านได้ชมกัน และมันจะช่วยเปิดโลกให้เราได้เห็นหน้าตาของสัตว์โลกในอดีตว่ามันน่าสนใจแค่ไหน
1. ไดโปรโตดอน (Diprotodon) ที่มีรูปร่างลักษณะคล้ายตัววอมแบต แต่มีขนาดใหญ่กว่ามากเมื่อเทียบกับวอมแบตจมูกขนเขตหนาว(Northen Hair-Nosed Wombay)
2. กราวด์ สลอธ (Ground Sloth) เป็นกลุ่มสลอธที่สูญพันธุ์ไปนานแล้ว มันมีขนาดใหญ่กว่าสลอธสองนิ้วลินเนียส (Linnaeus’s Two-Toed Sloth) ที่มีอยู่ในปัจจุบันมาก
3. เม็กกาโลดอน(megalodon) หรือเรียกสั้น ๆ ว่า เม็ก สายพันธุ์ปลาฉลามขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่โลกเคยมีมา มันทำให้ปลาฉลามขาว (Great white shark) ดูเล็กลงไปเลย
4. ไจแกนโตพิธิคัส (gigantopithecus) จัดเป็นลิงไม่มีหางที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่มวงศ์ของลิงใหญ่ มันมีขนาดตัวที่ใหญ่กว่าอุรังอุตังสุมาตรา (Sumatran Orangutan) มากพอสมควร
5. เสือเขี้ยวดาบ (saber tooth cat) เป็นสมาชิกของกลุ่มสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่สูญพันธุ์หลายชนิด มันมีความโดดเด่นคือ ลักษณะฟันเขี้ยวยาวโค้งงอที่ยื่นออกมาจากปาก ซึ่งมีความคล้ายคลึงกับ เสือลายเมฆ (Clouded Leopard) ในปัจจุบันเป็นอย่างมาก
6. กริปโตดอน (Glyptodon) เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดใหญ่ที่หุ้มเกราะหนา และหนัก เทียบกับอาร์มาดิลโล่ยักษ์ (Giant Armadillo)
7. วัวกระทิงยักษ์เขายาว (giant long horned bison)วัวกระทิงที่สูญพันธุ์ไปแล้วซึ่งอาศัยอยู่ในอเมริกาเหนือในช่วงยุค Pleistocene ตั้งแต่อลาสก้าถึงเม็กซิโก มันเป็นวัวที่ใหญ่ที่สุดและหนักที่สุดที่เคยอาศัยอยู่ในอเมริกาเหนือ และเมื่อเทียบกับกระทิงอเมริกัน (american bison) ที่เราคิดว่าใหญ่แล้วดูเด็กไปเลย
8. แมมมอธขนดก (Mammuthus primigenius) สูญพันธุ์ในยุคโฮโลซีน เมื่อเทียบกับช้างเอเชีย (Asian elephant)
9. แรดมีขน (woolly rhino) เป็นแรดที่สูญพันธุ์ไปแล้วซึ่งพบได้ทั่วไปในยุโรป และเอเชียในช่วงยุค Pleistocene และมีชีวิตรอดมาได้จนถึงสิ้นสุดยุคน้ำแข็ง แต่ก็ยังคงมีความคล้ายคลึงกับกับแรดขาว (White rhinoceros) เหมือนกันนะ (ปัจจุบัน แรดขาว เป็นแรดชนิดที่ใหญ่ที่สุดในโลก)
10. เสืองันตง(ngandong tiger) เป็นเสือโคร่งที่สูญพันธุ์ไปแล้ว มันอาศัยอยู่ในภูมิภาคซุนดาแลนด์ของอินโดนีเซียในช่วงยุค Pleistocene เมื่อเอามาเทียบกับเสือโคร่งไซบีเรีย (siberian tiger)
11. ช้างงาตรงเอเชีย(asian straight tusked elephant) เป็นสัตว์มีงวงที่สูงใหญ่ที่สุดเท่าที่โลกนี้เคยมีมา โดยพบได้ในหลายพื้นที่ของเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น,อินเดีย,ศรีลังกา ฯลฯ เมื่อเทียบกับช้างพุ่มไม้แอฟริกา (African bush elephant) ที่ถือเป็นสัตว์บก และสัตว์กินพืชที่ใหญ่ และหนักที่สุดในโลก
12. หมีแว่น (Spectacled Bear) เมื่อเทียบกับความใหญ่ของหมีหน้าสั้นอเมริกาใต้ยุคไพลสโตซีน (Pleistocene South American Short-Faced Bear)
13. ศิวาธีเรียม (Sivatherium) เป็นยีราฟที่สูญพันธุ์ไปแล้ว สามารถพบเจอได้ทั่วไปในแถบทวีปแอฟริกาจนถึงอินเดีย มันช่างดูแตกต่างจากยีราฟในปัจจุบันมาก
14. นกช้าง (Elephant bird) เป็นนกดึกดำบรรพ์ขนาดใหญ่ประเภทบินไม่ได้พวกมันสูญพันธุ์ไปนานแล้ว เทียบกับขนาดของนกกระจอกเทศ(common ostrich)
15. แดโอดอน(daeodon) เมื่อเทียบหมูป่า
ขอบคุณที่มา twitter.com | prehistoric-fauna.com | Facebook | Instagram
เรียบเรียงโดย เบาสมอง