การได้ขึ้นไปพิชิตยอดเขาเอเวอเรสต์ เป็นความใฝ่ฝันของนักปีนเขาหลายคนที่ครั้งหนึ่งในชีวิตพวกเขาอยากไปลองพิสูจน์ความแข็งแกร่งของร่างกายดูสักครั้ง เอเวอเรสต์ ป็นยอดเขาหนึ่งในเทือกเขาหิมาลัย อีกทั้งยังเป็นจุดแบ่งพรมแดนระหว่างประเทศเนปาลและทิเบตด้วย ในปี 1999 ได้มีการวัดความสูงของยอดเขาจาก GPS จึงได้ทำให้ทราบว่ามันมีความสูงถึง 8,850 เมตรจากระดับน้ำทะเลถ้าจะเรียกว่าเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในโลกเลยก็ได้
เพราะความสูงของยอดเขาเอเวอร์เรสต์ดึงดูดให้นักปีนเขาจากทั่วโลกเดินทางมาเยือนเป็นจำนวนมากของทุกปี แต่สิ่งหนึ่งที่เป็นปัญหาคู่ขนานนั่นก็คือ การที่นักปีนเขาบางส่วนชอบทิ้งขยะ และอุปกรณ์ต่าง ๆ เอาไว้ที่ยอดเขาเอเวอร์เรสต์เป็นจำนวนมาก มันเป็นเรื่องที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นแต่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ
Marion Chaygneaud-Dupuy นักปีนเขาและนักเคลื่อนไหวเชิงนิเวศ พร้อมทั้งเพื่อน ๆ ที่มีอุดมการณ์แบบเดียวกัน ได้ก่อตั้งกลุ่มที่ชื่อว่า ‘ Clean Everest ‘ ในปี 2559 เพื่อขึ้นไปเก็บขยะจากบนยอดเขาเอเวอร์เรสต์
ตลอดเวลา 3 ปี ที่พวกเขาได้พยายามทำงานกันอย่างหนัก พวกเขาสามารถเก็บขยะลงมาได้มากถึง 8.5 ตัน อาจจะฟังดูแล้วคิดว่ามันเยอะ แต่ Marion บอกว่านี้เป็นเพียงสามในสี่ของขยะที่ถูกทิ้งเอาไว้บนยอดเขาเท่านั้น
ทางเดินขึ้นลงไปเก็บขยะบนยอดเขาเป็นเรื่องที่ยากลำบากมาก
ขยะจำนวนมากถูกขนย้ายลงมาที่ตีนเขาเพื่อนำไปกำจัดต่อ
สิ่งเหล่านี้ไม่ควรถูกทิ้งเอาไว้จริง ๆ
ในการทำงานที่ยากลำบากนั้นก็ยังมีความโชคดีที่พวกเขาได้รับจามรีจำนวน 50 ตัว จากหน่วยงานท้องถิ่นที่ส่งมาให้เพื่อเป็นพาหนะในการขนย้ายขยะลงมาจากเขา
Marion และทีมงานของพวกเขาบอกว่า ” การปีนเขาเอเวอเรสต์ควรเป็นหนึ่งในปฏิสัมพันธ์บริสุทธิ์ที่สุดระหว่างมนุษย์กับโลกธรรมชาติ แต่ในปี 2556 เมื่อฉันขึ้นไปถึงจุดสูงสุดฉันก็รู้ว่าภูเขาได้รับความเสียหายจากการเดินทาง ตลอดเวลา 30 ปี ที่นักเดินปีนเขาขึ้นมาบนเขา ฉันคาดว่าขยะเกือบ 10 ตันถูกทิ้งที่ยอดเขาแห่งนี้ “
การทำงานท่ามกลางสภาพอากาศที่หนาวเย็น มันเป็นเรื่องที่ต้องใช้ความอดทนเป็นอย่างมาก
ทุกคนทุ่มเทที่อยากช่วยคืนความเป็นธรรมชาติกลับสู่ยอดเขา
สำหรับ Marion ธรรมชาติเป็นส่วนสำคัญในชีวิตของเธอที่ช่วยให้เธอรู้สึกมีชีวิตชีวา นั่นเป็นเหตุผลที่เธอต้องการมีส่วนช่วยให้ผู้อื่นได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุด ความเชื่อมโยงของเธอกับธรรมชาติเริ่มต้นเมื่อเธอยังเป็นเด็ก เธอจะเล่นในป่าและเรียนรู้ชื่อต้นไม้ พืช และสัตว์
เมื่อโตเป็นผู้ใหญ่เธอเดินทางไปอินเดียและทิเบต ซึ่งเธออาศัยอยู่ที่นั่น และทำงานเป็นไกด์บนภูเขามานานกว่า 17 ปี หลังจากก่อตั้งโครงการ ‘ Clean Everest ‘ เธอได้โน้มน้าวให้หน่วยงานท้องถิ่นสนับสนุนโครงการของเธอและพวกเขามอบจามรี 50 ตัวให้เธอเพื่อช่วยกำจัดของเสียที่ไหล่เขา
#
มลพิษที่ส่งผลกระทบต่อเทือกเขาหิมาลัยมีผลต่อน้ำดื่ม ขอผู้คนกว่า 2 พันล้านคนที่อาศัยอยู่ในหุบเขาของจีนและอินเดีย ดังนั้นการต่อสู้เพื่อทำความสะอาดภูเขาจึงไม่ใช่แค่การปกป้องธรรมชาติเท่านั้น มันเกี่ยวกับคุณภาพชีวิตของเราด้วย
รับชมวิดิโอเพิ่มเติม
จากสิ่งที่ Marion ได้ทำไปนั้นช่วยสร้างแรงบันดาลใจ และกระตุ้นไปนักปีนเขาทุกคนตระหนักรู้ว่า พวกเขาไม่ควรจะทิ้งอะไรเอาไว้ในทุกสถานที่ท่องเที่ยว เพราะไม่เช่นนั้นคุณจะเป็นผู้ทำลายธรรมชาติ ไม่ใช่คนรักธรรมชาติ
ขอบคุณที่มา boredpanda | เรียบเรียงโดย เบาสมอง