กลุ่มนักวิจัยพบฉลามโบราณในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ซึ่งเชื่อกันว่ามีอายุ 512 ปีซึ่งและอาจเป็นสัตว์มีกระดูกสันหลังที่มีชีวิตที่เก่าแก่ที่สุดในโลก ในขณะที่สัตว์โบราณถูกค้นพบเมื่อหลายเดือนก่อนอายุของมันถูกเปิดเผยในการศึกษาที่ตีพิมพ์ใน วารสาร Science
นักชีววิทยาทางทะเล Julius Nielsen พบฉลามกรีนแลนด์ที่มีความยาวถึง 18 ฟุต(ประมาณ 5.5 เมตร) และอาจมีอายุยืนยาวถึง512 ปี
เมื่อต้นปีที่ 2019 ศาสตราจารย์คิมพราเบล จากมหาวิทยาลัยอาร์กติก แห่งนอร์เวย์ พบว่าฉลามกรีนแลนด์อาจมีอายุได้ถึง 400 ปี แต่จากการค้นพบในครั้งนี้ทำให้เขาเชื่อว่า มันอาจจะมีอายุได้มากถึง 512 ปีจริง และมันก็เป็น “สัตว์มีกระดูกสันหลังที่อายุมากที่สุดในโลก”
จากการวัดขนาดของฉลามที่พบในกรีนแลนด์เมื่อเร็วๆ นี้นักวิจัยสันนิษฐานว่าพวกมันอาจจะเกิดมาตั้งแต่ในปีค.ศ. 1505 ทำให้มันมีอายุมากกว่าเชกสเปียร์ ฉลามกรีนแลนด์ – ที่รู้จักกันว่าฉลาม gurry หรือฉลามสีเทา
จากการวิจัยที่เปิดเผยข้อมูลว่าฉลามเหล่านี้มันอาจจะกิน “หมีขาว” เป็นอาหาร เนื่องจากฉลามกรีนแลนด์มันมีอายุมายาวนานจึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่มันพวกมีการย้ายถิ่นฐานไปทั่วโลก จึงทำให้เราศึกษาพวกมันได้ยาก รวมทั้งพวกมันเป็นสัตว์น้ำลึกกว่า 2,000 ฟุตนับจากผิวน้ำ
พวกเขาได้ใช้วิธีการวิเคราะห์ตามแบบจำลองทางคณิตศาสตร์ ศึกษาบริเวณเลนส์แก้วตาและกระจกตา ดูความสอดคล้องกันของขนาดตัวของพวกมัน
ตอนแรกพวกเขาคิดว่าฉลามกรีนแลนด์ที่พวกเขาเจอมันมีอายุแค่ 272 ปี แต่ด้วยเทคนิคดังกล่าว นี้ทำให้พวกเขาเชื่อว่ามันมีอายุ 512 ปี
.
ถือว่าเป็นค้นพบที่ยิ่งใหญ่ และเป็นอีกก้าวในวงการวิทยาศาสตร์ที่ทำให้ทั่วโลกได้รู้จักกับสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเลลึกชนิดนี้กันมากยิ่งขึ้นอีกด้วย
ขอบคุณที่มา physics-astronomy.org
ติดตามเรื่องราวดีๆ ได้ที่ : เบาสมอง
ติดตามเพจ เบาสมอง